แผนพัฒนาหน่วยงาน

📈 แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สพม.ลำปาง ลำพูน (พ.ศ.2566-2570)

📈 แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพม.ลำปาง ลำพูน พ.ศ.2563-2565 (ทบทวนปี พ.ศ.2565)

📈 แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพม.ลำปาง ลำพูน (พ.ศ.2563-2565)

📈 แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพม.35 (พ.ศ.2562-2566)

📝 แผนปฏิบัติการ สพม.ลปลพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

📝 แผนปฏิบัติการ สพม.ลำปาง ลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

📝 แผนปฏิบัติการ สพม.ลำปาง ลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

📝 แผนปฏิบัติการ สพม.35 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

📝 แผนปฏิบัติการ สพม.35 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562

📝 แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต สพม.35 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562

📝 แผนปฏิบัติการ สพม.35 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561

📝 แผนปฏิบัติการ สพม.35 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560

📊 รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

📊 รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

📊 รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

📊 รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562

📊 รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561

📊 รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560

📊 รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559

📊 รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558

          วิสัยทัศน์

     “องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ พัฒนาการศึกษาโดยอาศัยภาคีเครือข่าย สู่เป้าหมายการศึกษาที่ยั่งยืน”

          พันธกิจ

           (1) ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ปลอดภัย และคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           (2) ส่งเสริม สนับสนุน สร้างโอกาส ความเสมอภาค และลดความเหลื่อมล้ำ ให้นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง โดยอาศัยการบูรณาการจากทุกภาคส่วน

           (3) ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้ได้รับการพัฒนาทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพ มีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

           (4) ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สร้างเจตคติและความเป็นพลเมืองที่ดี รวมไปถึงส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่นให้แก่นักเรียน

           (5) พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศ

           (6) พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับและจัดการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

 

         เป้าประสงค์

           (1) นักเรียนมีภูมิคุ้มกัน พร้อมที่จะรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทุกรูปแบบ รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ในการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ และชีวิตวิถีถัดไป

           (2) สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน มีสถานที่ปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี และน้อมนำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

           (3) สถานศึกษามีระบบป้องกันภัยคุกคามทุกรูปแบบและมีระบบบริหารจัดการนักเรียนเด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน ได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม

           (4) นักเรียนได้รับโอกาสด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงเสมอภาคและเท่าเทียม ในรูปแบบที่หลากหลาย

           (5) นักเรียน มีความรู้ ทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิตและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และปรับตัวต่อการเป็นพลเมืองที่ดี

           (6) ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งจิตวิญญาณความเป็นครู

           (7) นักเรียนได้รับการศึกษาตามขีดความสามารถของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความถนัดและศักยภาพของแต่ละบุคคล วางรากฐานการศึกษาเพื่ออาชีพ ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ

           (8) นักเรียนมีความภูมิใจในอัตลักษณ์และบริบทของพื้นที่

           (9) นักเรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ

           (10) สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมมาภิบาลโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

      กลยุทธ์/นโยบาย 

           นโยบายที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้นักเรียนมีความมั่งคง ปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ และมีสภาพแวดล้อมที่ น่าอยู่ น่าดู น่าเรียน

           นโยบายที่ 2 เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน

           นโยบายที่ 3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

           นโยบายที่ 4 ส่งเสริมและปลูกฝังอัตลักษณ์ท้องถิ่น และความเป็นพลเมืองที่ดีให้แก่นักเรียน

           นโยบายที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา

 

      นโยบายที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้นักเรียนมีความมั่งคง ปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ และมีสภาพแวดล้อมที่ น่าอยู่ น่าดู น่าเรียน

           1.1 เป้าหมาย

                 1.1.1 นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับความรู้ด้านความปลอดภัยจากภัยคุกคาม 9 รูปแบบ ได้แก่ ภัยยาเสพติด ภัยความรุนแรง ภัยพิบัติต่าง ๆ อุบัติเหตุ โรคอุบัติใหม่ ฝุ่น PM 2.5 การค้ามนุษย์ การคุกคามในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงอาชญากรรมไซเบอร์

                 1.1.2 นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการดูแลความปลอดภัยและสามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ

                 1.1.3 สถานศึกษา ได้รับการพัฒนาให้มีความปลอดภัย และจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                 1.1.4 สถานศึกษา ได้รับการส่งเสริมให้มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน

                 1.1.5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน มีความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่

           1.2 แนวทางการพัฒนา

                 1.2.1 สนับสนุน พัฒนา และส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับภัยรูปแบบต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต เพื่อสามารถดำเนินชีวิตในวิถีใหม่และชีวิตวิถีถัดไปได้อย่างถูกต้อง

                 1.2.2 พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา ให้ได้รับความปลอดภัยจากภัยทั้ง 9 รูปแบบ และพร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเปิดให้มีช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเหตุให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ครู รวมถึงการใช้ MOE Safety Center ในการเฝ้าระวังเชิงรุก เพื่อสามารถคาดการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การซักซ้อมในการรับมือกับภัยพิบัติและภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ ที่นักเรียน

                 1.2.3 จัดกิจกรรมในการสร้างความตระหนักรู้ (Safety Awareness) หรือการซักซ้อม ในการรับมือกับภัยพิบัติและภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ (Safety Action) ที่นักเรียนอาจต้องเผชิญ และมีแผน/มาตรการในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำที่เกิดขึ้นได้ในวิถีชีวิตใหม่ เพื่อให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดภัยอาจต้องเผชิญ

                 1.2.4 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน ให้น่าอยู่ น่าดู น่าเรียน ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

           1.3 ตัวชี้วัด

ที่

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

ค่าเป้าหมาย (ปี)

ผู้รับผิดชอบ

2566

2567

2568

2569

2570

1

ร้อยละของนักเรียนที่มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะเพื่อรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทุกรูปแบบ และทุกประเภท

ร้อยละ

80

85

90

95

100

สพฐ. 66- 70

2

ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการประเมินความเสี่ยง และมีแผน/มาตรการ กิจกรรมในการสร้างความตระหนักรู้ (Safety Awareness) หรือทักษะในการรับมือด้านความปลอดภัย (Safety Action) ทุกรูปแบบ และมีการดำเนินการตามแผนอย่างเป็นระบบ

ร้อยละ

80

85

90

95

100

สพฐ. 66- 70

3

ร้อยละของสถานศึกษามีการประเมินสุขภาพจิตและใช้ระบบมาตรฐานความปลอดภัยกระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform) อย่างทั่วถึง

ร้อยละ

100

100

100

100

100

ตามจุดเน้น สพฐ. ลดความเครียด

4

ร้อยละของนักเรียนทุกช่วงวัยมีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสุขภาพ มีสุขภาวะที่ดีรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น

ร้อยละ

50

55

60

65

70

แผน ศธ.ลป

5

ร้อยละของสถานศึกษาที่พัฒนาหลักสูตร พัฒนาสื่อการเรียนรู้ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มขั้น

ร้อยละ

75

80

85

90

95

แผน ศธ.ลป

6

ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสุขภาพ มีสุขภาวะที่ดี รักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น

ร้อยละ

80

85

90

95

100

แผน ศธ.ลป

             

      นโยบายที่ 2 เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน

           2.1 เป้าหมาย

                 2.1.1 ประชากรวัยเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคจนจบการศึกษาภาคบังคับ

                 2.1.2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับการส่งเสริมให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                 2.1.3 เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ

                 2.1.4 นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเต็มตามศักยภาพ  

                 2.1.5 เด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน ได้รับการช่วยเหลือให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

           2.2 แนวทางการพัฒนา

                 2.2.1 พัฒนาระบบแพลตฟอร์มในการส่งต่อ ติดตาม และค้นหานักเรียน เพื่อช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา หรือได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสม

                 2.2.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้มีเทคโนโลยีดิจิทัล หรือนวัตกรรม ในการสร้างโอกาสทางการศึกษา ให้นักเรียนทุกคน ทุกพื้นที่เข้าถึงการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ

                 2.2.3 จัดการศึกษาให้นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

                 2.2.4 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมให้มีคุณภาพ และเกิดการบูรณาการอย่างยั่งยืน

                 2.2.5 พัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยบุคคล ครอบครัว (Home School) องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ และสถานประกอบการในศูนย์การเรียน

                 2.2.6 สนับสนุนทรัพยากร แก่สถานศึกษาในพื้นที่ลักษณะพิเศษ พื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร และพื้นที่เกาะ เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

                 2.2.7 พัฒนาโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ให้สามารถเพิ่มโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับประชากรวัยเรียนและนักเรียนได้อย่างมีคุณภาพ

           2.3 ตัวชี้วัด

ที่

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

ค่าเป้าหมาย (ปี)

ผู้รับผิดชอบ

2566

2567

2568

2569

2570

1

ร้อยละของเด็กออกกลางคัน เด็กตกหล่น กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา หรือได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสม

ร้อยละ

80

85

90

95

100

สพฐ. 66- 70

2

ร้อยละของสถานศึกษามีการนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการรับและให้บริการการศึกษา รวมถึงการส่งต่อผู้เรียนอย่างเป็นระบบ

ร้อยละ

90

93

95

98

100

สพฐ. 66- 70

3

ร้อยละของนักเรียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการศึกษาที่เหมาะสม ตามความจำเป็นและศักยภาพ

ร้อยละ

100

100

100

100

100

สพฐ. 66- 70

4

ร้อยละของนักเรียนที่เป็นผู้มีความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมศักยภาพที่เหมาะสม

ร้อยละ

100

100

100

100

100

สพฐ. 66- 70

5

ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียน

ร้อยละ

70

75

80

80

80

สพฐ. 66- 70

6

ร้อยละของความสำเร็จของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก (โรงเรียนคุณภาพ) และการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้สำเร็จตามเป้าหมาย

ร้อยละ

70

75

80

85

90

Quick Policy สพฐ.

7

ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน

ร้อยละ

100

100

100

100

100

สพฐ. 66

      นโยบายที่ 3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

           3.1 เป้าหมาย

                 3.1.1 นักเรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน สอดคล้องกับศักยภาพ ให้เป็นผู้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 

                 3.1.2 ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งจิตวิญญาณความเป็นครู

                 3.1.3 สถานศึกษา สามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และมีระบบการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ยืดหยุ่นตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning)

                 3.1.4 สถานศึกษามีงานวิจัยและนวัตกรรมการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ

                 3.1.5 ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับความรู้ด้านการวางแผน และการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม

           3.2 แนวทางการพัฒนา

                 3.2.1 พัฒนาและส่งเสริมนักเรียนให้ได้รับการพัฒนาพหุปัญญารายบุคคล โดยมีเครื่องมือคัดกรอง /สำรวจแวว /วัดความสามารถ ความถนัด สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตอบสนองความแตกต่างทางพหุปัญญาของนักเรียน โดยครูออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสอดคล้องตามบริบทและวัฒนธรรม คำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลตามความถนัด ความสนใจ ส่งผลต่อการพัฒนานักเรียนให้เต็มตามศักยภาพ

                 3.2.2 จัดการศึกษาตามขีดความสามารถของนักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความถนัดและศักยภาพของแต่ละบุคคล วางรากฐานการศึกษาเพื่ออาชีพ ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ

                 3.2.3 พัฒนานักเรียนให้มีสมรรถนะและทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ การคิดขั้นสูง นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เชื่อมโยงสู่อาชีพและการมีงานทำ มีทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

                 3.2.4 ส่งเสริม พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่นำไปสู่ Digital Life & Learning

                 3.2.5 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยบูรณาการวิชาเรียน

                 3.2.6 ส่งเสริมให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม (Co-creation) ให้กับผู้เรียนในทุกระดับชั้น          

                 3.2.7 ส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาตนเองทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีจรรยาบรรณ และจิตวิญญาณความเป็นครู

                 3.2.8 ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ด้านการสอนให้เป็นภาษาอังกฤษ

                 3.2.9 พัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน และสมรรถนะของผู้เรียน

                 3.2.10 บูรณาการการศึกษาเพื่อการศึกษาต่อด้านอาชีพและการประกอบอาชีพ หรือการมีงานทำตามความต้องการและความถนัดของผู้เรียน

                 3.2.1 1 ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการวางแผน และการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม

           3.3 ตัวชี้วัด

ที่

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

ค่าเป้าหมาย (ปี)

ผู้รับผิดชอบ

2566

2567

2568

2569

2570

1

ร้อยละของนักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

ร้อยละ

80

80

80

80

80

สพฐ. 66- 70

2

ร้อยละของสถานศึกษาในสังกัดที่สามารถจัดการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของผู้เรียน โดยใช้เครื่องมือคัดกรอง/สำรวจแวว/วัดความสามารถความถนัดของผู้เรียน

ร้อยละ

30

35

40

50

60

สพฐ. 66- 70

3

ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และมีการวัดและประเมินผล  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment For Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning)

ร้อยละ

80

85

90

95

100

สพฐ. 66- 70

4

ร้อยละของนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไป

ร้อยละ

90

93

95

98

100

สพฐ. 66

5

ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก

ร้อยละ

75

80

85

90

95

สพฐ. 66

6

ร้อยละของนักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตามความถนัด และความสามารถ (วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ทัศนศิลป์ นาฏศิลป์ ดนตรี กีฬา)

ร้อยละ

70

75

80

85

90

สพฐ. 66

7

ร้อยละของสถานศึกษาที่นำกระบวนการลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาดมาใช้ในกิจกรรมเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน

ร้อยละ

100

100

100

100

100

แผนภาค 15

8

ร้อยละของนักเรียนที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการหรือความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้น (จำแนกตามกลุ่ม ประเภทของความเป็นเลิศทางด้านวิชาการหรือมีความสามารถพิเศษ)

ร้อยละ

70

75

80

85

90

แผน ศธ.ลป

9

ร้อยละของความสำเร็จของการแก้ไขภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ของผู้เรียน

ร้อยละ

70

73

76

79

85

QW และ จุดเน้น สพฐ.

10

ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อการมีงานทำหรือนำไปประกอบอาชีพในท้องถิ่น

ร้อยละ

80

82

84

86

88

แผน ศธ.ลพ

11

ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับความรู้และทักษะด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ร้อยละ

70

75

80

85

90

นโยบาย ศธ

12

ร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-Net) แต่ละวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไป

ร้อยละ

3

3

3

3

3

แผน สพฐ. 66

13

ร้อยละของสถานศึกษาที่สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับการเตรียมความพร้อม (ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์) ในการประเมินระดับนานาชาติตามโครงการ PISA)

ร้อยละ

70

75

80

85

90

แผน สพฐ. 66

14

ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะด้าน coding

ร้อยละ

70

75

80

85

90

นโยบาย ศธ

15

ร้อยละของสถานศึกษาในสังกัด ที่มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

ร้อยละ

80

85

90

90

100

สพฐ. 66- 70

16

ร้อยละของสถานศึกษาปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเหมาะสม ทันสมัย และจัดการเรียนการสอนตามพหุปัญญาของผู้เรียนให้สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

ร้อยละ

100

100

100

100

100

แผนภาค 15

17

หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นที่ตอบสนองต่อการพัฒนากำลังคน

หลักสูตร

5

5

5

8

10

แผน ศธ.ลพ

18

ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษาได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เน้นทักษะด้านดิจิทัล และภาษาอังกฤษ)

ร้อยละ

85

85

85

85

85

แผน สพฐ. 66

19

ร้อยละของผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี องค์ความรู้ และสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ หรือต่อยอด

ร้อยละ

85

84

86

88

90

แผน ศธ.ลพ

20

ร้อยละครูที่เข้ารับการอบรมและผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ด้านการวางแผน  และการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู

ร้อยละ

80

85

90

95

100

จุดเน้น สพฐ.

      นโยบายที่ 4 ส่งเสริมและปลูกฝังอัตลักษณ์ท้องถิ่น และความเป็นพลเมืองที่ดีให้แก่นักเรียน

           4.1 เป้าหมาย

                 4.1.1 นักเรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ

                 4.1.2 นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและบริบทของท้องถิ่น โดยยึดแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           4.2 แนวทางการพัฒนา

                 4.2.1 ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีวินัย มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่น การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สู่การปฏิบัติ

                 4.2.2 ส่งเสริมการบูรณาการเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมสุจริต ในหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน

                 4.2.3 ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

                 4.2.4 ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการสภานักเรียนให้มีความเข็มแข็ง

                 4.2.5 ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมในการปลูกฝังอัตลักษณ์ท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           4.3 ตัวชี้วัด

ที่

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

ค่าเป้าหมาย (ปี)

ผู้รับผิดชอบ

2566

2567

2568

2569

2570

1

ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันหลักของชาติ

ร้อยละ

100

100

100

100

100

สพฐ. 66- 70

2

ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม วัฒนธรรมสุจริต

 

100

100

100

100

100

แผน ศธ.ลป

3

ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่สะท้อนความรักและการธำรงรักษาสถาบันหลักของชาติและการยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

100

100

100

100

100

แผน ศธ.ลป

4

ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสะท้อนความรักในสถาบันหลักของชาติและยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

 

80

85

90

95

100

แผนภาค 15

5

ร้อยละของสถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

 

100

100

100

100

100

นโยบาย รมว.

6

ร้อยละของหน่วยงาน/สถานศึกษาที่จัดกิจกรรมเกี่ยวกับภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและบริบทของท้องถิ่น โดยยึดแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

 

100

100

100

100

100

แผนภาค 15

      นโยบายที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา 

           5.1 เป้าหมาย

                 5.1.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

                 5.1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน

                 5.1.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีระบบการจัดสรรทรัพยากร โดยเฉพาะอัตรากำลังและงบประมาณ ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท

                 5.1.4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท

                 5.1.5 สถานศึกษาในพื้นที่ลักษณะพิเศษ และโรงเรียนคุณภาพได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพ ที่เหมาะสมกับบริบท

           5.2 แนวทางการพัฒนา

                 5.2.1 สร้าง พัฒนาและส่งเสริมการใช้ระบบบริหารด้านการจัดการศึกษาพื้นฐานที่ดีสำหรับสถานศึกษาให้เป็นระบบเดียวเพื่อลดภาระงานครู ลดความซ้ำซ้อนของระบบงานและการจัดเก็บข้อมูล

                 5.2.2 จัดกรอบอัตรากำลังที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ/ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และสายสนับสนุน

                 5.2.3 เสริมสร้างขวัญกำลังใจในความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากร

                 5.2.4 พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมและการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล

                 5.2.5 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัด เพื่อบูรณาการการใช้ทรัพยากรของสถานศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน

                 5.2.6 ส่งเสริมทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สนับสนุนทรัพยากร       

                 5.2.7 พัฒนาสถานศึกษาในสังกัดให้มีคุณภาพ ยั่งยืน สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยเฉพาะโรงเรียนคุณภาพ

                 5.2.8 พัฒนาระบบสารสนเทศในหน่วยงานทุกระดับให้มีระบบข้อมูลจัดการและรายงาน และการให้บริการอื่น ๆ

           5.3 ตัวชี้วัด

ที่

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

ค่าเป้าหมาย (ปี)

ผู้รับผิดชอบ

2566

2567

2568

2569

2570

1

จำนวนภาคีเครือข่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัด/พัฒนา/ส่งเสริมการศึกษา(ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาคประชาสังคม สถานประกอบการองค์กร หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน)

หน่วยงาน

10

12

14

16

18

สพฐ. 66- 70

2

ร้อยละของหน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาที่ส่งเสริมการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้น

ร้อยละ

80

85

90

95

100

แผน ศธ.ลป

3

ครูผู้สอนที่มีคุณวุฒิเหมาะสมในการจัดการศึกษาพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา

ร้อยละ

100

100

100

100

100

แผน ศธ.ลพ

4

ร้อยละของสถานศึกษาที่มีผลการประกันคุณภาพภายในระดับดีเลิศขึ้นไป

ร้อยละ

65

67

69

71

73

สพฐ. 66- 70

5

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน มีระบบบริหารจัดการตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่ (ระดับ)

ระดับ

ดีมาก

ดีมาก

ดีมาก

ดีมาก

ดีมาก

 

6

สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีผลการประเมินส่วนราชการผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล (ITA)

คะแนน

80

80

80

80

80

สพฐ. 66

7

ร้อยละของโรงเรียนคุณภาพที่มีการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้สำเร็จตามเป้าหมาย

โรงเรียน

2

2

2

2

2

สพฐ. 66-70

         ค่านิยม

LP ONE TEAM ลำปาง ลำพูน เป็นหนึ่งเดียว”

 

กระบวนการและแนวทางในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 – 2570

          การขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 – 2570 ด้วยรูปแบบ 4A PLUS

 

 

           องค์กรคุณภาพ 4A PLUS เป็นรูปแบบการขับเคลื่อนคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน เพื่อพัฒนาสู่เป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคือคุณภาพ 5 ด้าน หรือ 5Q  ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

           4A PLUS เป็นกระบวนการบริหารจัดการที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน ใช้ขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาร่วมกันในหน่วยงาน กลุ่มงาน สถานศึกษาในสังกัด
มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่

           A1 : Awareness เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารหรือผู้นำองค์กร สร้างความตระหนัก รับรู้สร้างความเข้าใจ ในการดำเนินการการโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับบุคลากรหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา ให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมมีแนวคิดเชิงประยุกต์ สร้างสรรค์ กระตือรือร้น มุ่งมั่นพัฒนาให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย

           A2 : Attempt เป็นกระบวนการที่สมาชิกในหน่วยงานร่วมกันพัฒนาโดยมีความมุ่งมั่นพยายาม เพื่อให้เกิดความพร้อมด้านต่าง ๆ ซึ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวของกับการพัฒนาจะต้องร่วมกันการวางแผนการดำเนินงาน การนิเทศติดตาม ประเมินผลการพัฒนาปรับเปลี่ยนกระบวนการอย่างเป็นระยะเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

           A3 : Achievement เป็นกระบวนการทำงานที่มุงผลสำเร็จของงาน มีนวัตกรรมในการดำเนินการผ่านวิธีปฏิบัติที่ดี โดยสามารถนำผลที่เกิดขึ้นเทียบกับเป้าหมาย สร้างผลผลิต/ผลลัพธ์ที่สะท้อนถึงภาพความสำเร็จในการดำเนินการที่มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีการติดตาม ชี้แนะและพัฒนา รวมทั้งการชื่นชมและให้รางวัลเมื่อเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

           A4 : Accredited system เป็นกระบวนการที่นำผลการพัฒนาคุณภาพด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สร้างต่อเนื่องยั่งยืน โดยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จัดเวทีวิชาการ เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายผลสร้างเครือข่ายบุคลากร

           PLUS เป็นการหนุนเสริมเพื่อให้เกิดความสำเร็จซึ่งต้องเกิดในทุกกระบวนการของการพัฒนาคุณภาพ มีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

           P  : Participation เป็นเรื่องของความสัมพันธ์เพื่อเป้าหมายร่วมกัน การดำเนินงานในลักษณะของระบบจึงไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แต่จะเป็นการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุผลตามที่ตั้งไว้มายถึง การมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพทุกภาคส่วน ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

           L :  Leadership หมายถึง การใช้ภาวะผู้นำในการบริหารจัดการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสร้างพลังในการขับเคลื่อนพัฒนาสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย

           U : Unity หมายถึง ความรักความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้เกิดเอกภาพในการทำงาน

           S : System หมายถึง การทำงานที่มีความสัมพันธ์เพื่อเป้าหมายร่วมกัน เป็นการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุผลตามที่ตั้งไว้

           โดยมุ่งผลให้เกิด 5Q ดังนี้ 

           Q1 : นักเรียนคุณภาพ (Quality Student) หมายถึง คุณลักษณะของนักเรียนที่สื่อให้เห็นถึงการเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข ตามความคาดหวังของสังคม และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ โดยสามารถวัดได้จาก 6 ประเด็น ดังต่อไปนี้

           1) นักเรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ

           2) ประชากรวัยเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคจนจบการศึกษาภาคบังคับ

           3) นักเรียนมีศักยภาพในการจัดการสุขภาวะของตนเองให้มีสุขภาพที่ดี สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความสุขทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

           4) นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความพร้อมในการเข้าสู่เวทีการแข่งขัน

           5) นักเรียนมีทักษะในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ

           6) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ  มีทักษะชีวิตและมีความพร้อมและสามารถรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบ

 

           Q2 : ครูคุณภาพ (Quality Teacher) หมายถึง ครูที่ครองตน ครองคน ครองงานเป็นแบบอย่างที่ดี และจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถโน้มน้าว จูงใจให้นักเรียนเกิดความพึงพอใจและมีความร่วมมือในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างมีความสุข สามารถวัดได้จาก 5 ประเด็น ต่อไปนี้

           1) ครูมีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสุขภาพ มีสุขภาวะที่ดี รักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           2) ครูสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  และบูรณาการแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นกับหลักสูตรสถานศึกษา

           3) ครูได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

           4) ครูเข้ารับการอบรมและมีความรู้ ความเข้าใจด้านการวางแผน และการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม 

           5) ครูผู้สอนมีคุณวุฒิเหมาะสมในการจัดการศึกษาพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา 

 

           Q3 : ผู้บริหารคุณภาพ (Quality School Director) หมายถึง ผู้บริหารที่มุ่งส่งเสริมพัฒนาบริหารจัดการศึกษาและดำเนินการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มุ่งมั่นในการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์แบบ โดยมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้เกิดแก่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ สามารถวัดได้จาก 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้

           1) ผู้บริหารมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งอย่างมีประสิทธิภาพ

           2) ผู้บริหารใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการปฏิบัติงาน

           3) ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ

 

           Q4 : โรงเรียนคุณภาพ (Quality School) หมายถึง โรงเรียนที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ในด้านคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการจัดการเรียนการสอน คุณภาพการบริหารจัดการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและเป็นไปตามความคาดหวังของสังคม สามารถวัดได้จาก 5 ประเด็น ดังต่อไปนี้

           1) โรงเรียนมีการพัฒนา ปรับปรุง และบริหารหลักสูตรสอดคล้องตามความต้องการ ของผู้เรียนและบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ

           2) โรงเรียนได้รับการพัฒนาให้มีความปลอดภัยและจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           3) โรงเรียนมีการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           4) โรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการ

           5) โรงเรียนมีการปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา

 

           Q5 : สำนักงานเขตคุณภาพ (Quality Secondary Education Service Area) หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน  ดำเนินการจัดการศึกษาบรรลุตามเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาการบริหารจัดการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล ยึดความโปร่งใส การกระจาย อำนาจ เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง และสร้างความเข้มแข็งด้วยการพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา เพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน  โดยวัดได้จาก 2 ประเด็น  คือ ต่อไปนี้

           1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีระบบบริหารจัดการตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

           2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)